เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
สร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย : ประทุม ช่วยขำ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเว็บไซต์ 2) เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning )เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินประเมินความคิดสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t test (dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการควรส่งเสริมเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ครูจัดการเรียนส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ และคิดคล่องแคล่ว
2) การร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รูปแบบ PAT Model ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง และ 3) การถ่ายโยงความรู้ การรับรององค์ประกอบรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ค่าประสิทธิภาพกลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพ 88.63/84.94
4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
(1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(2) การประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการสร้างเว็บไซต์ อยู่ในระดับมาก
(3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.4 ทดลองกับกลุ่มขยายผล กับโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) จำนวน 37 คน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01