ชื่อเรื่อง : การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)
ชื่อผู้ประเมิน : นางณัฐรี เนียมเงิน
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)
ปีที่ประเมิน : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) มีวัตถุประสงค์การวิจัย1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาด้วยการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโรงเรียน เทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) 2) เพื่อออกแบบการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้วย การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษาด้วยการบูรณาการปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาด้วยการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย การมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 47 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 65 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) โดยรวมพบว่ามีปัญหา อยู่ในระดับมาก เพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการศึกษา มีปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีปัญหา อยู่ในระดับมาก
2. การการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) พบว่ารูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย ประเด็นการพัฒนา 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการศึกษา มี6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การกำหนดแผน และพัฒนา 3) การนำแผนพัฒนาสู่การปฏิบัติ 4) การประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่าย 5) การติดตาม ประเมินผล 6) การปรับปรุง พัฒนาต่อเนื่อง ประเด็นที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนตามหลัก ข ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ด้านคือ 1. ด้านความรู้ มี 2 องค์ประกอบคือ 1) ทักษะการแสวงหา ความรู้ 2) การใช้แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ 2) การประหยัดและเก็บออม 3) ด้านทักษะชีวิต มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) การปฏิบัติตนให้รอดพ้นจากปัญหาสังคม สาระสำคัญของแนวทางการพัฒนา มี 6 ประการ คือ 1) ประเด็นการพัฒนา 2) องค์ประกอบ 3) รูปแบบการพัฒนา 4) ตัวบ่งชี้ 5) วิธีการพัฒนา 6) การติดตาม ประเมินผล
3. การทดลองใช้และปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) โดยรวมพบว่า มีการพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการศึกษา มีการพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก และประเด็นที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนาระดับดีมาก
4. ผลการปรับปรุงแนวทางการการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นยืนยันประสิทธิภาพความสอดคล้องเหมาะสม และเสนอแนะการ บริหารจัดการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) สร้างความตระหนัก ในการพัฒนาอย่างมั่นคง และต่อเนื่อง สร้างจิตสำนึกเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา และฝึกทักษะอย่างหลากหลายให้กับ นักเรียน