ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการ
ขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นพรัตน์ จันทร์แจ่มศรี ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวิเคราะห์เอกสาร 4) แบบสอบถามสำหรับสำหรับผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5) แบบสอบถามสำหรับนักเรียน 6) แบบสัมภาษณ์7) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ 8) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 9) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน 10) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ 11) แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม 12) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 13) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการสัมภาษณ์ ความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู และนักเรียน ต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาการขาย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ แก้ปัญหา และมีทักษะกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.42-4.74 และนักเรียนต้องการให้จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขั้น มีทักษะการคิดสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง และการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกันคิดช่วยการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า CAES MODEL โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ของรูปแบบ มี 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นทำให้ตระหนักรับรู้ (Congnition:C) (2) ขั้นเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning:A) (3) ขั้นการคิดอย่างละเอียดลออนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานจากความคิด (Elaborate To Create:E) (4) ขั้นสร้างความพึงพอใจ (Satisfaction:S) ที่มีคุณภาพเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด ( =4.70) และ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 82.89/80.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เทคนิคการขาย มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของทุกแผนอยู่ในระดับมากที่สุด และ มีทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของทุกแผนอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก และ ด้านผลลัพธ์ (Output) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานและเทคโนโลยี วิชาการขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยอยู่ในระดับมากที่สุด