ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริม
จิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : ทัศนีย์พร นาคมุสิก
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริม จิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 และ 4) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จากจำนวน 4 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) รูปแบบการเรียน การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน 28 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) 0.84 4) แบบวัดความมีวินัยในตนเองทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 5) แบบวัดการคิดสังเคราะห์ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.82 6) แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.93 7) แบบวัดจิตแห่งความเคารพ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.89 8) แบบวัดจิตแห่งจริยธรรม มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
นักเรียนมีพฤติกรรมบ่งชี้จิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกรายการ
รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ขั้นตอนการเรียนการสอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การลับสมอง ขั้นที่ 2 การจัด ประสบการณ์ ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติและการพัฒนา และขั้นที่ 4 การสรุปสังเคราะห์ และ (4) การวัดและประเมินผล
รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.37/83.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การคิดสังเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ความมีวินัยในตนเองทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.41 S.D=0.32)
การแสดงออกของพฤติกรรมด้านการเคารพและเข้าใจผู้อื่นหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.44 S.D=0.35)
การแสดงออกของพฤติกรรมด้านจริยธรรมหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.48 S.D=0.28)