ชื่องานวิจัย :การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านในเมือง
ผู้วิจัย: ปัฏ เรืองปัญญา ครูชำนาญการพิเศษ
ปีเสร็จวิจัย : ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน
การสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้ด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านในเมือง จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินทักษะความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พื้นภูมิเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทดสอบที (t- test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีชื่อว่า DDEE Model มีองค์ประกอบ คือ หลังการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นบรรยายให้ความรู้ (Describe: D)
2) ขั้นอภิปราย (Discuss: D)
3) ขั้นเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ (Enhancement and development : E) ซึ่งประกอบด้วย
3 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นการเสริมสร้างความรู้ (Enhancement) ขั้นการพัฒนาทักษะอิสระ
(Independent Development) ขั้นปฏิบัติติให้เกิดความชำนาญ (Expert) และ
4) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการใช้ทักษะชีวิของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (DDEE Model) ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.59/81.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในใช้ทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.69, S.D. = 0.46) โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนพื้นภูมิเพชรบูรณ์ เมื่อแยกรายด้านในภาพรวมด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4. 68, S.D. = 0.46) และในภาพรวมด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D. = 0.46) ซึ่งในด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนมีความสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณต่าง ๆ ได้คล่องแคล่วว่องไว โดยอัตโนมัติ ในระดับมากที่สุด ส่วนในด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต นักเรียนได้ฝึกความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตโดยการจัดการกับอารมณ์และความเครียดในระดับมากที่สุด นอกจากนี้นักเรียนได้ฝึกความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตสร้างสรรค์ชิ้นงาน และเชื่อมโยงความรู้ให้เป็นประโยชน์นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต