บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ประทาย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฏีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนประทาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฏีสร้างความรู้ด้วยตนเอง และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทายที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฏีสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ dependent-samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสามารถสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ได้ดังต่อไปนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง พบว่า หลักการในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองคือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง จนพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน และผลจากการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนประทาย จำนวน 15 คน สามารถสรุปสาระสำคัญได้ 3 ประการ ได้แก่ 1) ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในวิชาภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะทักษะการอ่าน 2) ผู้สอนยังใช้วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ไม่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ แสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และ3) การจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้สื่อเทคโนโลยี ลงมือปฏิบัติกิจกรรมและสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้ชี้แนะ ช่วยเหลือและให้คำปรึกษา
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า 3ELC มีองค์ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engagement: E) 2) ขั้นศึกษาตรวจสอบ (Learn: L) 3) ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Conclusion: C ) 4) ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (Elaboration: E) 5) ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation:E)
ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ เท่ากับ 83.65/82.38 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15