ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางนิศรา ฉายาวิก ตำหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัด สำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง
ระบำพัทยาถิ่นงาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4. เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เกี่ยวกับผลการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม ก่อนและหลังการใช้หลักสูตร
และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม
โดยทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติท่ารำระบำพัทยาถิ่นงาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ กลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (One Group Pretest Posttest Design)
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบำพัทยาถิ่นงาม
คาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนาฏศัพท์ ภาษาท่านาฏศิลป์ไทย
2. ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม ประกอบด้วย 1. แนวคิด 2. หลักการ
3. จุดหมาย 4. คำอธิบายรายวิชา 5. ผลการเรียนรู้ 6. โครงสร้าง/เวลาเรียน 7. สาระการเรียนรู้ 8. รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ 9. สื่อการเรียนรู้ 10. แผนการจัดการเรียนรู้ 11. การวัดและการประเมินผล แต่ละหน่วย
จัดการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิบัติ
3. ผลการทดลองหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม โดยใช้ระยะเวลา 20 ชั่วโมง จัดการเรียนรู้
แบบเน้นการปฏิบัติ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ขั้นนำ 2. ขั้นสอน 3. ขั้นสรุป พบว่านักเรียนมีความสนใจ
ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ในการจัดการเรียนรู้มีการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน
4. ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม พบว่า 1. คะแนนเฉลี่ย
ผลการเรียนรู้เรื่อง การปฏิบัติระบำพัทยาถิ่นงาม ของนักเรียนก่อนการทดลองใช้หลักสูตรและหลังทดลองใช้หลักสูตร แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้หลังการทดลองใช้หลักสูตรสูงกว่า
คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้ก่อนการทดลองใช้หลักสูตร
2. นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัติท่ารำระบำพัทยาถิ่นงาม อยู่ในระดับ ดีมาก
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำพัทยาถิ่นงาม อยู่ในระดับมากที่สุด