ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านเขาค้างคาว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
ผู้รายงาน : นางสาวปิยรัตน์ ศรีบรรเทา
ปีที่รายงาน : 2560
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านเขาค้างคาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ผู้รายงานมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านเขาค้างคาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL ในการประเมิน 4 ด้าน ดังนี้
1) ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ (Context)
2) ด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการ (Input)
3) ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process)
4) ด้านผลการดำเนินงานโครงการ (Product)
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเขาค้างคาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ประเมินเป็นเครื่องมือที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการประเมินในแต่ละด้าน รวมแบบสอบถาม 4 ฉบับ สำหรับการประเมินโครงการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ (Context) ด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการ (Input) ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process) และด้านผลการดำเนินงานโครงการ (Product) การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินได้นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนทั้งหมดโดยทำการวิเคราะห์ตามประเภทและลักษณะ ของข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้านสังคมศาสตร์ได้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านเขาค้างคาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 พบว่าผลการประเมินประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านเขาค้างคาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการประเมินด้านสภาพแวดล้อม รองลงมาได้แก่ การประเมินด้านกระบวนการ การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ การประเมินด้านผลผลิต ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมสูงที่สุด ได้แก่ ข้อ 1 หลักการและวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกัน รองลงมา ได้แก่ ข้อ 9 วัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพภาพรวม มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความพร้อมสูงที่สุด ได้แก่ ข้อ 1 มีการกำหนดนโยบายและการวางแผนจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ ข้อ 4 การมอบหมายงานมีความเหมาะสม และข้อ 7 สถานที่ประกอบการและรับประทานอาหารสะอาดถูกหลักอนามัย ด้านกระบวนการของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด ได้แก่ ข้อ 3 ประชุมวางแผนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินโครงการ รองลงมา ได้แก่ ข้อ 12 รายงานผลการประเมินโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด ด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ข้อที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ ข้อ 2 นักเรียนใช้แบบบันทึกสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเป็นประจำ รองลงมา ได้แก่ ข้อ 1 นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพจากเจ้าหนี่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ