รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาการปั้นดินน้ำมันเสริมสร้างจินตนาการและกล้ามเนื้อมือ
ผู้วิจัย นางณัฐวดี บุญเหม
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
ระดับชั้น อนุบาล ๓/๑
ภาคเรียนที่ ๑
ปีการศึกษา ๒๕๖๑
๑. ความเป็นมา
เนื่องจากการปั้นดินน้ำมันทำให้เกิดความสนุก ยังช่วยฝึก และเสริมพัฒนาการในด้าน มิติสัมพันธ์ และกล้ามเนื้อมือให้กับเด็กเป็นอย่างดี เช่น มีการหยิบจับได้อย่างคล่อง เขียนหนังสือได้ดีขึ้น โดยเฉพาะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือนั้น มีความสำคัญกับเด็กมาก เห็นได้จากผลการศึกษาของ เพียเจท์ นักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก พบว่า ความสามารถในการคิด และทักษะทางภาษาของเด็ก เกี่ยวโยงกับพื้นฐานและประสบการณ์ด้านกล้ามเนื้อ เด็กจะไม่สามารถพัฒนาทางภาษาได้ ถ้าปราศจากพื้นฐานที่มั่นคงทางด้านประสบการณ์ออกกำลังกาย และการหยิบจับสิ่งของรอบๆ ตัว เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการที่เด็กได้สัมผัสกับสื่อวัสดุต่างๆ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเองนักเรียนมีขาดทักษะการปั้นดินน้ำมันที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการ การปั้นเป็นความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กปั้นตามจินตนาการจากสิ่งเร้าที่กำหนด เป็นการถ่ายทอดความคิดเชิงสร้างสรรค์ออกมาเป็นรูปธรรม และสามารถต่อยอดในการฝึกทักษะการแข่งขันศิลปหัตกรรมระดับศูนย์เครือข่าย ระดับจังหวัดได้ และระดับประเทศ
๒.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการได้
๒. เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างผลงานของตนเองได้
๓. เพื่อให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
๔. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการนำไปใช้แข่งขันงานศิลปหัตกรรมระดับต่างๆได้
๓.สมมติฐานของการวิจัย
การปั้นดินน้ำมันทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการและกล้ามเนื้อมือ
๔.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. พัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดเล็ก มือและนิ้วมือ ในการนวด นวด คลึง และปั้น
๒. พัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แขนหยิบจับเล่น
๓. พัฒนาประสาทสัมพันธ์ สอดคล้องระหว่างตากับมือ ระหว่างที่ปั้น
๔. พัฒนาทักษะทางด้านภาษาในการอธิบายผลงานของตนเอง
๕. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
๖. ฝึกสมาธิทำให้เด็กจดจ่อกับงานที่ทำได้นานมากขึ้น
๗. ผ่อนคลายอารมณ์เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะทำกิจกรรม
๘. เสริมสร้างความภูมิใจในตัวเอง พึงพอใจในผลงานของตน
๙.พัฒนาการทางด้านสังคม โดยเด็กสามารถเล่นร่วมกับเพื่อน
๑๐. ฝึกนิสัยการเก็บของเล่นให้เป็นที่ การรักษาของ เพราะหลังจากเล่นเสร็จแล้วต้องเก็บในกล่องให้เรียบร้อยเพื่อที่จะนำมาเล่นได้อีกในครั้งต่อไป
๑๑.เด็กสามารถนำไปปรับใช้แข่งขันงานศิลปหัตกรรมระดับต่างๆได้
๕.ขอบเขตของการวิจัย
นักเรียนอนุบาล ๓ โรงเรียนบ้านเจ๊ะบิลัง ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑
๖. วิธีดำเนินการวิจัย
๑. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆละ ๓-๔ คน
๒. ครูและนักเรียนร่วมกันปั้นดินน้ำมันตามจินตนาการตามที่ตนเองชอบ
๓. นักเรียนปั้นตามแบบที่กำหนดและตามที่ตนเองจินตนาการ
๔. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตนเอง
๕. นักเรียนและครูช่วยกันอภิปรายสรุป
๗.สรุปและอภิปรายผล
นักเรียนพัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดเล็ก มือและนิ้วมือ ในการนวด นวด คลึงและปั้นพัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แขนหยิบจับเล่น พัฒนาประสาทสัมพันธ์ สอดคล้องระหว่างตากับมือ ระหว่างที่ปั้น ทักษะทางด้านภาษาในการอธิบายผลงานของตนเองตามความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ ฝึกสมาธิทำให้เด็กจดจ่อกับงานที่ทำได้นานมากขึ้นช่วยผ่อนคลายอารมณ์เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะทำกิจกรรม เสริมสร้างความภูมิใจในตัวเอง พึงพอใจในผลงานของตน มีพัฒนาการทางด้านสังคม โดยเด็กสามารถเล่นร่วมกับเพื่อน ฝึกนิสัยการเก็บของเล่นให้เป็นที่ การรักษาของ เพราะหลังจากเล่นเสร็จแล้วต้องเก็บในกล่องให้เรียบร้อยเพื่อที่จะนำมาเล่นได้อีกในครั้งต่อไปและนำไปปรับใช้แข่งขันงานศิลปหัตกรรมระดับต่างๆได้