ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม
(STS) เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย อัญชญานุต ศรีสุข
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่องสารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่อง
สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม (STS)เรื่องสาร ชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง สังกัดเทศบาลเมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ชุด แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 50 ข้อ แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ แบบประเมินกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 21 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่องสารชีวโมเลกุล เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละการทดสอบค่าที ( t-test Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) เรื่องสาร ชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25/80.22
2) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่อง สารชีวโมเลกุล พบว่า 2.1) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) ความสามารถในกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนจากการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดี
3) ผลการศึกษาความคิดเห็น ของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ พบว่าความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก