ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนากิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านเมืองน่าน เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) จังหวัดน่าน
ผู้รายงาน นางวัฒจนพร หาญสงคราม
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน
เพื่อพัฒนาพฤติกรรมความพร้อมด้านสังคมของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาล
เมืองน่าน (บ้านสวนตาล) จังหวัดน่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความความพร้อมด้านสังคมของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาพฤติกรรมความพร้อมด้านสังคมของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน(บ้านสวนตาล) จังหวัดน่าน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาพฤติกรรมความพร้อมด้านสังคม โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) จังหวัดน่าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 อายุ 4 -5 ปี โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์จากการละเล่นพื้นบ้านเมืองน่าน เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านสังคม ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 24 แผน 2) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความพร้อมด้านสังคม ของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 ด้าน ด้านละ 4 ข้อ รวมทั้งสิ้น 16 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมการละเล่นพื้นบ้าน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย
ค่าร้อยละ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และสถิติทดสอบสมมติฐาน (t-test dependent Samples)
จากการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1. ผลการพัฒนาพฤติกรรมความพร้อมด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในแต่ละช่วงเวลาการจัดประสบการณ์จากการละเล่นพื้นบ้านเมืองน่าน พบว่า จากการจัดประสบการณ์ตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 1-4 พฤติกรรมอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อจัดประสบการณ์ผ่านไป 5-6 สัปดาห์พฤติกรรมเปลี่ยนเป็นระดับดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมความพร้อมด้านสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในแต่ละสัปดาห์
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความพร้อมด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 พบว่า พฤติกรรมความพร้อมด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านโดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก