ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้เอกสารประกอบการสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ผู้วิจัย นายจักรพันธ์ ทองผาย
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้า
ในอาคาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบ การเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 12 ห้องเรียน นักเรียนทั้งสิ้น 547 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ที่เลือกเรียน
รายวิชา ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 18 แผน เวลาเรียนรู้ 36 ชั่วโมง
3) แบบทดสอบ ย่อยเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 16 ชุด ชุดละ 10 ข้อ
4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 50 ข้อ โดยมีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.40- 0.73 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.21 - 0.45 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 อันดับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้ ค่าสถิติ t (One Sample t- test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรายวิชา ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.79/85.94
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 88/80
2. เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรายวิชา ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7236 คิดเป็นร้อยละ 72.36
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ เอกสารประกอบการเรียน ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากเอกสารประกอบการสอนโดยเน้น
ให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนหรือผู้เรียนกับครู ครูผู้สอนควร
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถและเรียนรู้ร่วมกัน มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อ มุ่งสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ในระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรคอยดูและให้คำแนะนำ เสริมความรู้หรือเพิ่มเติมองค์ความรู้แก่ผู้เรียน จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น