บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัย แบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เกี่ยวกับทักษะการเขียน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียน เนื่องจากนักเรียนแต่ละห้องเรียน มีผลการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ใกล้เคียงกันทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) คู่มือรูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน (CLASRC Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.809 (3) แบบทดสอบทักษะการเขียนซึ่งเป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test pair
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาที่พบในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก เทศบาล
นครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ส่วนมากปัญหาที่พบ คือ การเขียน จากการตรวจแบบฝึกหัดและการสังเกตพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ทักษะเขียนไม่ดี ทักษะด้านการเขียนไม่ถูกต้อง เขียนไม่เป็น นอกจากนี้ ผู้เรียนยังไม่มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน รับจากผู้สอนเพียงอย่างเดียว ไม่มีโอกาสได้ลงมือทำด้วยตัวเอง จึงไม่เกิดกระบวนการคิดและคิดอย่างมีเหตุผล และไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้จากการลงมือปฏิบัติร่วมกับผู้อื่น สาเหตุอีกส่วนหนึ่งมาจากการสอนของผู้สอนที่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย จัดกิจกรรรมการเรียนการสอนไปตามแบบเรียน โดยอธิบายตัวอย่างและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนหรือลงมือปฏิบัติเอง รวมถึงแผนการสอนที่ไม่มีการพัฒนา การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนลงมือทำเองมีน้อย ไม่มีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน และผู้สอนไม่มีการนำรูปแบบการสอนใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ดังนั้นควรหาแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาวิธีการสอนของผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความต้องการรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้บริหารครูผู้สอนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความต้องการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.98)
2. รูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน (CLASRC Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 89.89/87.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน (CLASRC Model)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังใช้รูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญมากกว่า 0.05 ทักษะการเขียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนรูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อ
พัฒนาทักษะการเขียน (CLASRC Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38