ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่าน และเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย จิราพร รอดทอง
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง ที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบ การสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยมี ดังนี้ ประกอบด้วย 1. แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนต่อวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง 2. แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และแนวทางในจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และ3. แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4. แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิด การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ 5. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่าน การเขียน คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 6. แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 และ 7. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบ การสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ค่าที(t-test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการให้มีกิจกรรมการสอนที่ส่งเสริมให้ค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ด้านครูผู้สอนกล่าวว่านักเรียนพื้นฐานด้านวิชาภาษาอังกฤษไม่ดีควรพัฒนารูปแบบในการจัดการเรียนการสอนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เน้นความสนุกสนาน พร้อมกับให้ความรู้เสริมทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพลงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้ฟังให้ความบันเทิงและลดความเครียดผ่อนคลายอารมณ์ทำให้มนุษย์เกิดสุนทรียภาพทางอารมณ์ ซึ่งเพลงมีบทบาทต่อชีวิตของเรา เพลงกับชีวิตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมนุษย์มาตั้งแต่เกิดเสียงเพลงเกิดจากการสร้างสรรค์ในการศึกษาทั้งเป็นสื่อหลักและสื่อเสริมพลังที่ครูนำ มาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งประโยชน์ของเพลงในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมี ดังนี้
1) เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน ลดความตึงเครียดระหว่างครูกับนักเรียนหล่อหลอมลักษณะนิสัย จิตใจ ของนักเรียนให้อ่อนโยน
2) เพลงช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์บุคลิกภาพและด้านสังคมของนักเรียน
3) การเข้าสู่บทเรียนสรุปบทเรียนหรือทบทวนบทเรียนเพลงช่วยย้ำสิ่งที่เรียนไปแล้ว เช่น คำศัพท์รูปประโยค กฎไวยากรณ์บางเรื่อง เช่น เกี่ยวกับกาล (tense) ต่าง ๆ เป็นต้น
4) เพลงช่วยพัฒนาทางด้านภาษา ซึ่งเป็นการฝึกการฟังให้เข้าใจข้อความในเนื้อเพลงพร้อมทั้งเป็นการฝึกการออกเสียง เชื่อมคำ และจังหวะไปในตัว ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ ที่สามารถร้องเพลงได้ ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนและช่วยส่งเสริมให้การเรียนดีขึ้น
5) เพลงให้ความรู้หลากหลายแก่นักเรียน เช่น วัฒนธรรม สถานที่สำคัญ วันสำคัญเป็นต้น โดยออาจใช้เพลงเป็นจุดเริ่มต้นของการสนทนา หรืออภิปรายเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเพลง
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
3.2 ความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมืองที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานบูรณาการร่วมกับเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56