ชื่อเรื่องงานวิจัย: การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิด
การมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย: นางวนิดา จันมณี
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) พัฒนาหาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน3) ศึกษาผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 และ 5) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
โรงเรียนครบุรี ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2561จำนวน 32คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผน แบบสอบถามความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพแบบประเมินความ
พึงพอใจของนักเรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประเด็นที่ค้นพบดังนี้
1.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนคือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยการใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบและหาวิธีการแก้ไขปัญหาจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จนพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบผ่านการทำโครงงาน และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร โดยมีครูเป็นผู้คอยช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน
1.2 ผลจากการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอนสุขศึกษา โรงเรียนครบุรี จำนวน 6 คน สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.2.1 ผู้เรียนไม่ให้ความสำคัญและขาดความกระตือรือร้นในการเรียนวิชาสุขศึกษา 1.2.2 ผู้สอนยังใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ ไม่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ แสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
1.2.3 การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหา ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ ส่งเสริมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้สื่อเทคโนโลยี ลงมือปฏิบัติกิจกรรมและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูซึ่งต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษาและคอยให้การสนับสนุน
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า 6S Model โดยมีองค์ประกอบ
ซึ่งประกอบไปด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล ในส่วนของกระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบไปด้วยขั้นตอนจำนวน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นศึกษาเรียนรู้ปัญหา (Studying: S)ขั้นวิเคราะห์เลือกปัญหา (Selecting: S)ขั้นดำเนินการ (Starting: S)ขั้นสังเคราะห์ข้อมูล (Synthesizing: S)ขั้นนำเสนอโครงงาน(Submitting: S) และขั้นประเมินผลการเรียนรู้(Summarizing: S)ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.87ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.22/83.39 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการศึกษาคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับมาก