|
|
การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ( 4 ปี) โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการ บ้านนักวิทยาสตร์น้อย โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง1 ใช้เป็นสื่อการสอนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่เน้นพัฒนาการ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา และเชื่องโยงกับกิจกรรม การเรียน 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน 6 กิจกรรม คือกิจกรรมของเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียนการสอนกิจกรรมกลางแจ้งเป็นพื้นฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย 2)เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการใช้กิจรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ 3)เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานด้านกิจกรรมกลางแจ้งของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีทักษะพื้นฐานทางด้านกิจกรรมกลางแจ้งร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปฐมวัยศึกษาปีที่2 (4ปี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2561 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง1 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 25 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ 1)แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งเป็นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยสำหรับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านกิจกรรมกลางแจ้งก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test (Dependent Samples)
ผลจากการศึกษาพบค้นคว้า
1. ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2(4 ปี) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี จำนวน 20 ชุด ประกอบด้วย (1) กิจกรรมเนินน้ำ (2) กิจกรรมไหลแรงหรือไหลค่อย (3) กิจกรรมหลอดดำน้ำ (4) กิจกรรมการกรองน้ำ (5) กิจกรรมสนุกกับฟองสบู่ (6) กิจกรรมลมอ่อนๆพัดผ่านห้อง (7) กิจกรรมปั้มขวดและลิฟต์เทียน (8) กิจกรรมกักน้ำไว้ได้ (9) กิจกรรมสถานีเติมลม (10) กิจกรรมลูกโป่งฟองตัวและขวดยุบเองได้ (11) กิจกรรมปริมาณน้ำไม่เท่ากัน (12)กิจกรรมพับหรือตัดก็ทับกันสนิท (13) กิจกรรมท่องทำนองของตัวเลข (14) กิจกรรมการจัดหมวดหมู่ (15) กิจกรรมฟองสบู่รูปสี่เหลี่ยมและทรงกลม (16) กิจกรรมผงลึกลับ (17) กิจกรรมภูเขาไฟระเบิด (18)กิจกรรมน้ำมะนาวโซดาแสนอร่อย (19) กิจกรรมเมล็ดพืชเต้นระบำ (20)กิจกรรมการเผาไหม้ เมื่อพิจารณาความเห็นในการประเมิน มี 13 ข้อที่ได้ค่า(X ̅= 4.8 ) คือ คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมมีความชัดเจนอ่านเข้าใจง่าย ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมมีความชัดเจน สาระการเรียนรู้มีความยากง่ายเหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน การเรียบเรียงสาระการเรียนรู้มีลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายากอย่างเหมาะสม ภาษาที่ใช้มีความชัดเจน ถูกต้อง และเหมาะสม รูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้มีความหลากหลาย ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสม กิจกรรมส่งเสริมความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการทำงานกลุ่มและความสามัคคี งานที่กำหนดมีความเหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน วิธีการวัดผลและประเมินผลมีความหลากหลายเน้นตามสภาพความจริง ใบงาน แบบฝึกหัด มีจำนวนพอเหมาะและเร้าความสนใจของนักเรียนและวิธีการประเมินช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงระดับความรู้ความสามารถของนักเรียนแต่ละคนดีขึ้น มี 4 ข้อ ค่า (X ̅= 4.6) เวลาที่ใช้จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม ภาพประกอบสื่อความหมายได้ชัดเจน เหมาะสม สาระการเรียนรู้มีความละเอียดสมบรูณ์ถูกต้อง นักเรียนมีส่วนรวมในการประเมินผลงานตนเองและประเมินผลงานเพื่อน มี 2 ข้อ ค่า (X ̅= 4.4) สาระการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด แบบประเมินและเกณฑ์การใช้คะแนนชัดเจนนำมาใช้ได้ง่าย มี 1 ข้อ ค่า (X ̅= 4.2) รูปเล่มมีความสวยงามน่าอ่าน
2.ผลการวิเคราะห์การวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย(X ̅= 35.40) สูงกว่าคะแนนก่อนการทดลอง(X ̅= 26.80) เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยแต่ละปัญหาพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกกรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในแต่ละปัญหา คือ ปัญหาผู้อื่นแต่เด็กอยู่ในเหตุการณ์ ปัญหาตนเองที่ต้องรีบแก้ไขทันที ปัญหาตนเองที่ไม่ต้องรีบแก้ไขทันทีและปัญหาตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น สูงกว่าก่อนการทดลอง และในแต่ละปัญหามีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าก่ารประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงขึ้นก่อนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนด้านกิจกรรมกลางแจ้งโดยใช้สมรรถทางการสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 (4 ปี)คะแนนจากการทำแบบทดสอบท้ายหน่วยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.84 จากคะแนนเต็ม 80 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 94.8 ของคะแนนเต็มและคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน เท่ากับ 22.2 จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.6 ที่ตั้งไว้ จึงกล่าวได้ว่าชุดการเรียนการสอนกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 (4 ปี) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ สำหรับเด็กปฐมวัยของเด็กปฐมวัยศึกษาปีที่ 2 (4ปี) โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง1 เป็นการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามขั้นตอนและกระบวนการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนผู้สนใจ ได้ศึกษานำไปเป็นแนวทางการศึกษาการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพในครั้งต่อไป
6.1 ผลการสร้างและพัฒนาชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2(4 ปี)ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่ามีความสอดคล้อง เหมาะสมกันทั้งด้าน เนื้อหา จุดประสงค์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากกระบวนการสร้างชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่ผู้ศึกษาได้สร้างตามขั้นตอนของหลักวิชาการ โดยมีการศึกษาปัญหา จดบันทึก เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาปรัชญาหลักวิธีการสอน ศึกษาเนื้อหา จากคู่มือครู หนังสือ และตำราต่างๆ ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและการพัฒนาชุดชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสร์น้อยและนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเสนอแนะรูปแบบของการเรียนที่เหมาะสม ส่งผลให้ ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน ดีในทุกชุดกิจกรรม และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ วศินี อิสระเสนา ณ อยุธยา (2545 : 79) ได้ศึกษาและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นเด็กเล็ก จากประสบการณ์ วางแผน ปฏิบัติ ทบทวน ตามแนวการสอนแบบไฮสโคป พบว่าด้านความคิดคล่องแคล่วและความคิดริเริ่มแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านความคิดละเอียดลออ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความคิดสร้างสรรค์โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน แสดงว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ดีขึ้น หลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนแบบไฮสโคปและ พันธิตรา เกาะสุวรรณ์ (2546 : 56) ได้ศึกษาผลการเรียนรู้แบบไฮสโคป ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า 1. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบไฮสโคป มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ไม่ได้เรียนรู้แบบไฮสโคป มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบไฮสโคปและที่ไม่ได้รับการเรียนรู้แบบไฮสโคปมีความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน
6.2 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของเด็กชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 (4) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ สูงกว่า ก่อนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และยังมีวิจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้อง จินดาพร แก้วลายทอง (2551 : 102-103) ได้ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิด High/Scope หลังได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ หลังได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิด High/Scope หลังได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05กวีณา จิตนุพงศ์ (2551 : 90) ได้ศึกษาผลของความสามารถการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย มีจุดมุ่งหมายศึกษาผลของความสามารถทางการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชายหญิง อายุ 45 ปี ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จานวนเด็ก 25 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและแบบทดสอบวัดความสามรถในการแก้ปัญหาพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยความสามารถการแก้ปัญหาโดยรวมแตกต่างจากก่อนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับp< .05(F=6.471) โดยการทดลองครั้งนี้ส่งผลต่อความสามารถการแก้ปัญหาโดยรวมร้อยละ 21.2
6.3 ผลค่าเฉลี่ยจากการสังเกตความพึงพอใจโดยรวมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4ปี)ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติโดยใช้กิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (X ̅ = 1.89) มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับชอบทุกกิจกรรม
|
โพสต์โดย ชนิสรน์ : [23 ส.ค. 2562 เวลา 17:42 น.] อ่าน [5174] ไอพี : 101.109.34.123
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 17,986 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,715 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,247 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,863 ครั้ง
| เปิดอ่าน 55,578 ครั้ง
| เปิดอ่าน 25,872 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,220 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,696 ครั้ง
| เปิดอ่าน 29,397 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,502 ครั้ง
| เปิดอ่าน 7,283 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,597 ครั้ง
| เปิดอ่าน 27,580 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,132 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,355 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 14,912 ครั้ง
| เปิดอ่าน 727 ครั้ง
| เปิดอ่าน 2,107 ครั้ง
| เปิดอ่าน 21,113 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,352 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|