ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนการสอน
แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางสาวกฤษณา พรจันทร์
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อสร้างและพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ได้ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.5 ขึ้นไป 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษจากการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะ การเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธี การสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยใช้วิธีการสุมแบบเป็นกลุ่ม (Cluster) โดยการจับฉลากมา 1 หองเรียน ได้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จํานวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม ซึ่งประกอบด้วย คู่มือ การใช้และแผนจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบทดสอบปรนัย (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก เพื่อใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3)แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ด้วยวิธีของลิเคร์ท (Likert ) จำนวน 10 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นและการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1.สร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ได้ตามเกณฑ์ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.5 ขึ้นไป ด้วยการใช้เครื่องมือเป็นแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT มีจำนวน 8 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่อง Descriptions and Simple Action ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 2 เรื่อง Daily Life ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 3 เรื่อง Current Activities ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 4 เรื่อง Talking About The Past ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 5 เรื่อง Completed Actions ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 6 เรื่อง Connecting Two Past Events ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 7 เรื่อง Describing Change ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 8 เรื่อง Future Plan ใช้เวลา 2 ชั่วโมง รวมเวลา 16 ชั่วโมง พบว่า ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT มีความเหมาะสมระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผล
และนำมาคำนวณระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ ระดับมากที่สุด และคิดเป็นร้อยละ 92.40 โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT ได้ค่าประสิทธิภาพระหว่างเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 81.95/82.71 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.65
2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษจากการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3 ผลการวิเคราะหขอมูลที่ไดจากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มี
ตอการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.54, S.D = 0.47) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการออกแบบสูงสุด
(X ̅ = 4.65, S.D = 0.48) รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมโดย (X ̅ = 4.57, S.D = 0.48) ลำดับที่ 3 คือ
ด้านประโยชน์ (X ̅ = 4.50, S.D = 0.48) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านเนื้อหา (X ̅ = 4.47, S.D = 0.48)
ตามลำดับ