ชื่อเรื่อง หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education)
รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางวันทนา บุตรศรี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยพิจารณาจาก 4 ประเด็น ดังนี้ 2.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรฯ 2.2) เพื่อศึกษาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรฯ 2.4) เพื่อศึกษาผลการประเมินหลักสูตรโดยครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน กล่าวคือ 1) การศึกษาบริบทและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2) การออกแบบและสร้างหลักสูตร 3) การทดลองใช้และหาประสิทธิภาพหลักสูตร และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Nonparametric แบบ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีองค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R 8C) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ผลการประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R 8C) ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ประกอบด้วยทักษะในสาระวิชาหลัก (Core Subjects3Rs) อยู่ในระดับมากที่สุด และทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills 8Cs) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ผลการประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) รายวิชาช่างแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด