ชื่อรายงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย วัชรี จุลพล
สถานที่ศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 4) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมีค่าความเชื่อมั่น (α ) 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t-test for Paired Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏว่า ดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน
นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์การ
จัดการเรียนการสอนด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาไม่บรรลุเป้าหมายตามสภาพที่คาดหวัง การจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งสอนเนื้อหาวิชาเป็นหลักใช้เทคนิควิธีสอนที่ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหา ขาดการค้นคว้าหาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ครูส่วนใหญ่ใช้การยกตัวอย่างให้ทำตาม ไม่ฝึกการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เรียนแล้วลืมง่ายไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น ต้องการพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตจริงและเรียนรู้ทักษะตามลำดับขั้นตอน ต้องการวิธีสอนที่เร้าความสนใจในการเรียน ต้องการให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ นักเรียนมีความต้องการให้จัดการเรียนโดยครูผู้สอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในระดับกลุ่ม และรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยมีสื่อการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4.1) ขั้นเตรียมความพร้อม 4.2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา 4.3) ขั้นระดมสมอง 4.4) ขั้นสร้างทางเลือก 4.5) ขั้นการแก้ปัญหา 4.6) ขั้นตรวจสอบ 4.7) ขั้นสรุปและประเมินผล 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน
4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.18/82.59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 , S.D. = 0.36)