ผู้วิจัย นางสาวสกุลกานต์ แย้มแก้ว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนราษีไศล
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT
วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Lifestyles and Places ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียน
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Lifestyles and Places
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Lifestyles and Places
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ที่กำลังเรียนอยู่
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 38 คน
ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT
วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Lifestyles and Places แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ
ที่มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.64 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t test
แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Lifestyles and Places ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.54/83.89 เป็นไปตามเกณฑ์
ที่กำหนด
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Lifestyles and Places ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Lifestyles and Places ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "x" ̅ = 4.60, "S.D.= 0.54" )