การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จังหวัดพัทลุง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถในความคิดเชิงมโนทัศน์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมีแหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 แผนพัฒนาการศึกษาขององค์กรปกครองท้องถิ่น รายงานประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา สมศ.และรายงานการประเมินการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองท้องถิ่น แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการวิทยาศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลและการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และการสอนคิดหลายด้าน ได้แก่ ต้องการความรู้ในการจัดการเรียนการสอน วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความคิดเชิงมโนทัศน์ที่ถูกต้อง ต้องการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ศาสตร์ที่เน้นการปฏิบัติจริง ต้องการวิธีสอนที่เร้าความสนใจในการเรียน ต้องการให้นักเรียนกล้าพูด กล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร และต้องการให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดเชิงมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ได้รูปแบบการสอนที่ประกอบด้วย ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อนำไปสู่ปัญหา(Problem : P) ขั้นการลงมือปฏิบัติสืบค้นหาข้อมูลจากกิจกรรมการเรียนรู้ (Observed Experiments : O) ขั้นสร้างองค์ความรู้(Knowledge : K) ขั้นบูรณาการ
(Integration : ) และขั้นประเมินผล(Evaluation : E)
3) ผลการดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดเชิงมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดเชิงมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด(X-bar = 4.82, S.D = 1.17)