ผู้วิจัย : นางสาวรัชนี พิทักษ์วงศ์จินดา
หน่วยงาน : โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนบัวขาว เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 จำนวน 40 ข้อ 3) แบบวัดการคิดวิเคราะห์เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยทฤษฎีแนวคิดพื้นฐาน หลักการ จุดมุ่งหมายกระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล และได้รับการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (4.73) ประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (E1/E2) เท่ากับ 83.18/81.08 2. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
การคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการนำใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปใช้ พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังนำไปใช้คำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ได้เท่ากับ 81.96/80.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.63
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีคะแนน
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05