ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อ
ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางมนธิรา ชมโคกกรวด ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนวังรางพิทยาคม ต.มะเกลือเก่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ปีที่ทำงานวิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลการสร้างและพัฒนารูปแบบประกอบด้วย ผลจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนที่สำหรับทดลองใช้เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลการทดลองใช้และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คู่มือประกอบการใช้รูปแบบ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังเคราะห์จากสังเคราะห์แนวคิดของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และแนวคิดวิธีการเชิงระบบ (System Approach) ADDIE Model ของ เควิน ครูส (Kevin Kruse, 2009: 1-2) และดิกส์ คาร์เร่ (Dick and Carey, 2005: 1-8) ผู้วิจัยได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิด ในงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กำหนดการวิจัยเป็นขั้นตอน 4 ขั้น คือ 1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ (Analysis) = Research : (R1) เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ 2) ขั้นการออกแบบ (Design) และการพัฒนา (Development) = Development : (D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ 3) ขั้นการนำไปใช้ (Implement) = Research : (R2) เป็น การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ขั้นการประเมินผล(Evaluation) = Development : (D2) ประเมิน ประสิทธิผลรูปแบบ นอกจากนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) และเสริมด้วยการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เพื่อตอบคำถามการวิจัยให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 82.80/81.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ80/80 รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า ESDPI Model ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบ ESDPI Model องค์ประกอบที่ 4 สาระหลัก องค์ประกอบที่ 5 สิ่งสนับสนุน องค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ องค์ประกอบที่ 7 การวัดและประเมินผล ขั้นตอนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ESDPI Model มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ (Engagement : E) 2) มุ่งสู่คำตอบ (Search for Knowledge : S) 3) ตรวจสอบชี้แจง (Discussion : D) 4) พร้อมแสดงนวัตกรรม (Preseutation for Innovation : PI)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
3.1 นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( = 26.48 , S.D.=1.23) สูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ( = 15.64 , S.D.= 2.46)
3.2 นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีผลการประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนตลอดการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับสูง ( = 2.78 , S.D.= 0.42)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.79 , S.D.=0.46)