ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายธนกาญจน์ พิณพาทย์
ปีการศึกษาที่ทำวิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1 )เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้าง ตรวจสอบคุณภาพ และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลัง การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย จำนวน 50 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) 2) แบบสอบถามความต้องการแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 บท 4) แบบทดสอบหลังใช้แบบฝึก 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 6) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) ครูและนักเรียนต้องการให้มีการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เนื้อหาควรนำฉลากสินค้า สัญลักษณ์ต่าง ๆ นิทาน บทกวี เรื่องราวเชิงวิชาการ ปริศนาคำทาย มาใช้ในการสอนอ่าน โดยทำให้สอดคล้องกับข้อสอบ ONET เนื้อหาไม่ควรยาวหรือมีคําศัพท์ที่ยากเกินระดับของผู้เรียน
2) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มีจำนวน 4 บท คุณภาพของแบบฝึกมีค่าความสอดคล้อง เฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ค่าคุณภาพเฉลี่ย 4.84 ระดับ ดีมาก ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึก มีค่าเท่ากับ 81.47/ 81.93 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/ 80
3) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังใช้แบบฝึกสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4)ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 4.79 ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และด้านความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนที่ได้รับจากการศึกษาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน ตามลำดับ