การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง
โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี
นายไทยเจริญ รัตนะ
Thaicharoen Rattana
โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี
Tessaban 5 Siharak Wittaya School under Udon Thani Municipality
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี และ 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้มีวิธีการดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับการปฏิบัติการบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 79 คน ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และระยะที่ 3 ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู-บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 79 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการปฏิบัติการบริหารจัดการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.60, S.D.=0.50) และเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 4 ด้าน และระดับน้อย 1 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( =2.63, S.D.=0.46) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ( =2.62, S.D.=0.52) ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( =2.60, 0.53) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( =2.57, S.D.=0.49) และด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ( = 2.47, 0.50)
ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) จากเอกสารการประเมินตนเองและเอกสาร การประเมินภายนอก โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา พบว่า การบริหารจัดการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี มีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข ได้แก่ ครูขาดทักษะในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูขาดการนำเสนอ ผลการประเมินความคิดเห็นงานในโครงการหรือกิจกรรมมาปรับปรุงพัฒนางาน ครูเน้นสอนเนื้อหามาก ทำให้ไม่ได้เน้นการจัดกิจกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. กลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี
มีกลยุทธ์หลัก ได้แก่
ก้าวแรก: สร้างศรัทธา สร้างความเชื่อและศรัทธาร่วมกันในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งร่วมกันที่จะทำความดีโดยมีเป้าหมายที่จะสร้างคนดีให้สังคม
ก้าวที่สอง: ตามหาสัจธรรม ผู้บริหาร ครู ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาฐานการเรียนรู้ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย ศึกษาดูงาน ประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา และกำหนดแนวทางพัฒนา
กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร ได้แก่ แต่งตั้งและกำหนดบทบาทหน้าที่ให้กับบุคลากรในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา และร่วมลงมือปฏิบัติและมีบทบาทรับผิดชอบในการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษา
ก้าวที่สาม: น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ มาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในมิติด้านวัตถุ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ สร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษา ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นระหว่างบุคลากรภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง นำภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และคัดเลือกครู ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียนดีเด่นที่ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและผู้ที่ให้การสนับสนุนทรัพยากรเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา
กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การจัดการความรู้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต มีการเผยแพร่การปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอน ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและแผนการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การส่งเสริมบุคลากรให้มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ พัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา จัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประชาสัมพันธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา
ก้าวที่สี่: เคียงคู่ ติดตาม ปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนา โรงเรียนติดตามอย่างมุ่งมั่น ทบทวน ปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการจัดการเรียนรู้
กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การส่งเสริมผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ได้แก่ ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจของสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู และนักเรียนต่อการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการยกระดับคุณภาพและความสำเร็จของสถานศึกษาในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา
ก้าวที่ห้า: ขยายผลนำความรู้สู่สาธารณะชน ปรับปรุงดำเนินงานให้มีคุณภาพ นำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา และเผยแพร่ขยายผลสู่ภายนอก
3. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี
ผลการประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี ไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.35, S.D.=56) และความเป็นไปได้ของกลยุทธ์อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.83, S.D.=0.39)
ผลระดับการปฏิบัติหลังการบริหารจัดการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา เทศบาลนครอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =4.55, S.D.=0.45) และเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ( =4.58, S.D.=0.46) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( =4.58, S.D.=0.47) ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( =4.57, S.D.=0.43) ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ( =4.55, S.D.=0.52) และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( =4.53, S.D.=0.42)
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู-บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65, S.D.=0.32) เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( =4.80, S.D.=0.44) รองลงมาคือ ความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้กลยุทธ์ การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยรูปแบบห้าก้าวที่พากเพียร ขอเดินตามรอยเท้าพ่ออย่างพอเพียง ( =4.77, S.D.=0.52) และความพึงพอใจที่มีต่อก้าวแรก: สร้างศรัทธา ( =4.74, S.D.=0.52)