ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้
ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางณัฐพร สมพงษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านบัวใหญ่)
กองการศึกษา เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านบัวใหญ่) การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มโรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านบัวใหญ่ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหนองม่วง) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านบัวใหญ่) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านบัวใหญ่) มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหา สามารถสร้างสรรค์ความรู้จากการเรียนรู้ได้ มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ รู้จักทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมกันคิดแก้ปัญหา เน้นทักษะการคิดแก้ปัญหา เน้นกระบวนการปฏิบัติงาน การลงมือทำ การแก้ปัญหาที่ได้มาจากกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานหรือกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 สิ่งสนับสนุน และ องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญในการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การรวมกลุ่มทบทวนความรู้เดิมจากปัญหา (Previous knowledge) ขั้นตอนที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่ (Acquiring new knowledge) ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์และการเชื่อมโยงความรู้ (Analyze and link knowledge) ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนความรู้ (Practice and exchange knowledge) ขั้นตอนที่ 5 การทบทวน และสรุปความรู้ (Review and summary of knowledge) ขั้นตอนที่ 6 การนำเสนอผลงานและประยุกต์ใช้ (Presentation and application) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.27/83.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.67 , S.D. = 2.79)