บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3
ผู้รายงาน นางพุมรินทร์ ไฝชู
สังกัด โรงเรียนเทศบาลวัดนาควารี เทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2560
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุข และเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเด็กดี มีวินัย และสำนึกความเป็นไทยโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ผู้รายงานคำนึงถึงความสำคัญของเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งจึงได้จัดทำชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 โดยมีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปี่ที่ 3 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 ดังนี้
3.1) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 3.2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการ คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3โรงเรียนเทศบาลวัดนาควารี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1)แบบประเมินพฤติกรรมพัฒนาการด้านร่างกาย 2)แบบประเมินพฤติกรรมพัฒนาการด้านอารมณ์ 3) แบบประเมินพฤติกรรมพัฒนาการด้านสังคมที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสรมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่านักเรียนระดับชั้นอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลวัดนาควารี มีปัญหาพัฒนาการด้านร่างกายมากที่สุดจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 55.65 รองลงมาคือ ปัญหาพัฒนาการด้านอามรณ์และจิตใจ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 29.95 ปัญหาด้านสังคมจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 5.94 และปัญหานักเรียนไม่สนใจการเรียนรู้ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8.46
2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อามรณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3.ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่ามีประสิทธิภาพ(E1/E2)= 84.09/92.54เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 พบว่าผลการประเมินทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
3.2 ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.85 แสดงว่าผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของผูเรียนที่เกิดการเรียนรู้ได้จริง
3.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมกลางแจ้งแบบเชิงรุกบูรณาการการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมของนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 ความพึงพอใจของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.40 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จะอยู่ในระดับมากที่สุด และมากสลับกันไป โดยมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 5.00 ได้แกนักเรียนมีความสุขและพึงพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย = 4.78 แสดงว่าชุดกิจกรรมชุดนี้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริงและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง