การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL FOR ENHANCEMENT OF PROBLEM SOLVING WITH CRITICAL THINKING ABILITIES SKILLS IN 21st CENTURY COURSE INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY OF FIFTH GRADE STUDENTS
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะ
การคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดทักษะ การคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า PAMIE Model มีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ (Preparation step : P) 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (Analysis step : A) 3) ขั้นตัดสินเลือกข้อมูล (Making the Choice step : M) 4) ขั้นตีความข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting Data and Conclusion step : I) และ 5) ขั้นประเมินผล (Evaluation step : E) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 87.28 / 87.47 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด 2) ความสามารถในคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบ
การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were to : 1) develop of instructional model for enhancement of problem solving with critical thinking abilities skills in 21st century course information and communication technology of fifth grade students 2) compare problem solving with critical thinking abilities skills course of fifth grade students before and after being taught by the instructional model for enhancement of problem solving with critical thinking abilities skills in 21st century and 3) investigate satisfaction of the fifth grade students toward the instructional model. The samples were 38 students of the fifth grade students at Manisatitkapitatharam School. The instruments employed were PAMIE Instructional Model, lesson plans, achievement test, problem solving with critical thinking abilities test and questionnaire. The obtained data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test dependent and content analysis.
The results of the study were as follows: 1) The instructional model was called PAMIE Model. The Model were 5 steps of syntax as follows: 1) Preparation step : P 2) Analysis step : A 3) Making the Choice step : M 4) Interpreting Data and Conclusion step : I and 6) Evaluation step : E. The efficiency of instructional model for enhancement of problem solving with critical thinking abilities skills in 21st century course information and communication technology of fifth grade students achieved the criterion of 87.28 / 87.47 , which was higher than the required standard criterion of 80/80. 2) The problem solving with critical thinking abilities which included knowledge, problem solving with critical thinking abilities course information and communication technology of fifth grade students before and after being taught by the instructional model were statistically significant different at the .05 level. 3) The satisfaction of the fifth grade students toward the PAMIE model to enhancement of problem solving with critical thinking abilities skills in 21st century was at the highest level of satisfaction.
นายอุเทน ชวดนุช
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม