ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้หนังสือส่งเสริมการ
อ่านชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒
ผู้รายงาน นางสาวจิตนา ประเมทะโก ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน 2562
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม ประกอบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม ๓) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม ประกอบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๕๐ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑ จำนวน ๒๕ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กำหนดระยะเวลาในการทดลอง ๑๐ ครั้ง ๒๐ ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หนังสือส่งเสริมการอ่านชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดเล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าโดยใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
๑. หนังสือส่งเสริมการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพของกระบวนการ เท่ากับ 89.20
และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 88.75 แสดงว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องจากหนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นช่วยสร้างแรงจูงใจ ทำให้นักเรียนกระตือรือร้น อยากเรียน สนุกสนานตื่นเต้น
๒. ค่าดัชนีประสิทธิผลหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 0.7773 แสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านที่
ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 77.73 ทั้งนี้อาจเนื่องจากเป็นเพราะผู้วิจัยสร้างหนังสือส่งเสริมอ่านตามกระบวนการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
๓. คะแนนจากการทดสอบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลงเรียนด้วยหนังสือ
ส่งเสริมการอ่าน ชุด เล่าเรื่องเมืองมหาสารคาม ประกอบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ สูงกว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.44
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.29 แสดงว่านักเรียนมีพึงพอใจที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น