บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง สำนักการศึกษา เทศบาลนคร
เชียงใหม่
ชื่อผู้รายงาน นายสุจิต วาลีย์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2561
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อศึกษาอัตราความก้าวหน้าทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ปีการศึกษา 2561 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ ทั้ง 11 โรงเรียน แล้วนำมาจัดทำเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 128 คน กลุ่มทดลอง จำนวน 130 คน เพื่อนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ไปใช้จริง และกลุ่มทดลองใช้และหาประสิทธิภาพ Tryout (Individual Tryout/Small Group Tryout/Field Tryout) ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้สึกนักเรียนเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอน แบบสอบถามครูเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม และด้านสื่อนวัตกรรม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 11 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวนเรื่องละ 10 ข้อ รวม 110 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียโดยการหาค่า E1 /E2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยการใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละของคะแนนพัฒนาการ วิเคราะห์หาอัตราความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้การคำนวณหาค่าดัชนีประสิทธิผลโดยใช้สูตร E.I. วิเคราะห์ความพึงพอใจโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ผลการวิจัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จากแหล่งข้อมูลที่สำคัญคือนักเรียนและครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม และจากการสรุปแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอนโดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าครูผู้สอนต้องมีสื่อประกอบการสอนและสื่อนั้นควรเป็นสื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วนำไปใช้จริงกับกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 5 โรงเรียน มีค่า E1/E2 เท่ากับ 85.06/83.96, 84.52/83.59, 84.64/82.68, 85.64/83.82 และ 87.73/85.40 แสดงว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ทีตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการดำเนินการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นนักเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 5 โรงเรียน กับกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นนักเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 5 โรงเรียน สามารถสรุปได้ว่า กลุ่มทดลองซึ่งเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยกลุ่มทดลองทั้ง 5 โรงเรียนมีร้อยละของคะแนนพัฒนาการโดยเฉลี่ยเท่ากับ 60.29 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยที่กลุ่มควบคุมทั้ง 5 โรงเรียน มีร้อยละของคะแนนพัฒนาการโดยเฉลี่ยเท่ากับ 31.16
4. อัตราความก้าวหน้าทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วนำไปใช้จริงกับกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 5 โรงเรียน มีอัตราความก้าวหน้าทางการเรียนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 60.29
5. ความพึงพอใจของกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 5 โรงเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.90, S.D. = 0.24)