ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ)
สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
ผู้วิจัย นางฐิติรัตน์ โกศล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
รายงานพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการสุมแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 จำนวน 24 แผน คู่มือครูสำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบการอ่านเชิงวิเคราะห์ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ ttest (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 P1 : (Planning) ขั้นวางแผนร่วมกัน หมายถึง ขั้นที่กระตุ้นให้ผู้เรียน
เกิดความคิดรวบรวมและเรียบเรียงความคิดดังกล่าวไว้ใช้ในขั้นการเขียน โดยครูเป็นผู้เตรียมข้อมูลหรือ รายละเอียด (กิจกรรม) เกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านแล้วนําไปสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน
ขั้นที่ 2 P2 : (Perception) ขั้นสร้างประสบการณ์ หมายถึง ขั้นเชื่อมโยงการรับรู้
และ จัดลําดับความคิดเพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์จากเรื่องที่อ่าน
ขั้นที่ 3 P3 : (Performing) ขั้นขยายความคิด หมายถึง ขั้นฝึกปฏิบัติการอ่าน โดย
นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มนําข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 2 มาเรียบเรียงลําดับความคิด และตั้งชื่อเรื่องให้ สอดคล้อง
ขั้นที่ 4 P4 : (Processing) ขั้นกระบวนการ หมายถึง ขั้นกระบวนการหลัง
การอ่าน โดยนักเรียนนําผลงานของกลุ่มตนเองนําเสนอหน้าห้องเพื่อให้เพื่อนและครูช่วยกันประเมินวิจารณ์ข้อดี และข้อบกพร่องพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน
ขั้นที่ 5 P5 : (Production) ขั้นสรรค์สร้างงานใหม่ หมายถึง ขั้นสร้างชิ้นงานใหม่ของ ตนเองจากจินตนาการ สรุปผล และประเมินผลผลิตจากการอ่านแล้วนำมาทำชิ้นงานเขียน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการอ่านคิดเชิงวิเคราะห์ด้วย
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนเต็ม 40 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 16.16 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 40.40 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 32.52 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.30 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนเต็ม 40 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 16.35 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.37 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 32.74 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.85 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการอ่านเชิงวิเคราะห์ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด