ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย ศิริพร สุยะวงค์
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา จำนวน 1 ห้อง นักเรียนจำนวน 35 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ประกอบดวย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติด้วย t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบวา
1. ผลการศึกษาศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปจจุบัน เนนไวยากรณทางภาษาเปนหลัก ทั้งนี้เพราะนักเรียนตองนําความรู้ไปใชในการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสอบระดับชาติ (O-NET) และการสอบเขาศึกษาตอในระดับที่สูงขึ้น ไมไดมุงเนนทางดานการสื่อสารภาษาอังกฤษ เน้นการทองคําศัพท บรรยากาศในการเรียน การสอนเครงเครียด มีแบบฝกหัดจํานวนมาก มีสื่อการเรียนการสอน คอนขางนอย สวนใหญเปน บัตรคํา ครูผูสอน ภาษาอังกฤษสวนใหญเปนครูผูสอนชาวไทย ใชภาษาไทยในการอธิบายหรือสื่อสารมากกวาใชภาษาอังกฤษ นักเรียนไมไดใช หรือใชภาษาอังกฤษนอยมากในการฝกทักษะการสื่อสารในชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่นอกห้องเรียนก็ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน โรงเรียนมีกิจกรรมที่สงเสริมทักษะด้านการสื่อสารในการฟังและพูดภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนค่อนข้างน้อย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้าน
การสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการสอน มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน โดยมีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนประสบการณ์เดิม ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นการฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 5 ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้าน
การสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 3.1) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพจากความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ มีค่าเท่ากับ 82.51/82.43 3.2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูด มีความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรูภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก