บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ ของเมอร์ด็อค (MIA) และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชน ศรีสะอาด (เทศบาล 1) ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ Dependent sample
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) มี 6 เล่ม ได้แก่ 1) A Funny Cartoon Family, 2) Money, 3) Unusual Aussie, 4) Celebrating the Seasons, 5) Culture Shock และ 6) Future Scooter แต่ละเล่มมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.81/83.75, 82.31/83.44, 82.25/82.50, 82.31/83.13, 82.50/82.81 และ 81.81/83.13 ตามลำดับ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
2. การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ช่วยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) มีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจดีขึ้น
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) มีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนศรีสะอาด (เทศบาล 1) มีความพึงพอใจ ต่อการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ในภาพรวมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.56
ABSTRACT
This research aimed to 1) develop Murdoch Integrated Approach (MIA) English reading exercises for developing reading comprehension skill of Matthayomsuksa 1 students at Chumchon Srisa-Ad (Municipality 1) School to meet a preset criteria of 80/80 for the students, 2) study the effects of the students reading comprehension skill development, 3) compare the MIA English reading exercises with what they had before and 4) study the students satisfaction towards the development through the MIA English reading exercises. The target group was 32 students studying in Matthayomsuksa 1 students at Chumchon Srisa-Ad (Municipality 1) School, selected by purposive sampling. Four tools used were: 1) MIA English reading exercises, 2) pretest and posttest, 3) lesson plans and 4) a set of satisfaction questionnaire. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent sample.
Results of the study were as follows:
1. The MIA English reading exercises comprised 6 sets: 1) A Funny Cartoon Family, 2) Money, 3) Unusual Aussie, 4) Celebrating the Seasons, 5) Culture Shock and 6) Future Scooter. The efficiency of each set was 82.81/83.75, 82.31/83.44, 82.25/82.50, 82.31/83.13, 82.50/82.81 and 81.81/83.13 respectively which were higher than the preset criteria of 80/80.
2. Developing reading comprehension skill through the MIA English reading exercises helped increase the students reading comprehension skill successfully.
3. The students reading comprehension skill acquired after the development through the MIA English reading exercises was higher than what they had before at the .01 level of significance.
4. The overall satisfaction of the students towards the MIA English reading exercises was at a high level. The mean score was 4.43 and the standard deviation was 0.56.