ชื่องานวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางธฤตา รัตนมงคล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ลำพระเพลิงพิทยาคม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามแบบแผนการวิจัย
กึ่งทดลอง (Quasi -Experimental Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัด
การเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 แผน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 หน่วย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ และ 4) แบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและ
การดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.20/80.73 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์กำหนดไว้คือ 80 /80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนจากการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก