ชื่อเรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้วิจัย นางจันทร์ยงค์ แสนบุดดา
สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) นำเสนอแผ่นอธิบายตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) สอบถามความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์จาก 20 โรงเรียน จำนวน 20 คน และครูผู้สอน จำนวน 6 คน จากโรงเรียนมัธยมดงยาง ระยะที่ 2 เพื่อนำเสนอแผ่นอธิบายตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และสอบถามความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของการพัฒนา ตัวบ่งชี้คุณภาพ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ที่ใช้สอบถามความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของตัวบ่งชี้คุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิด แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีการสนทนากลุ่มระดมสมองร่วมกับกลุ่มเพื่อนครูที่ทำหน้าที่สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยหัวข้อคุณภาพ ตัวแทนสิ่งบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น และเขียนสูตรคำนวณ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเป็นไปได้ของตัวแทนสิ่งบ่งชี้ ตัวบ่งชี้คุณภาพและสูตรคำนวณ ด้านแนวทางและวิธีการในการเก็บข้อมูลในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.75-5.00 สามารถนับคำนวณได้ตามหน่วยนับสูตรคำนวณที่ระบุอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.63-5.00 ตัวบ่งชี้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้สาระชีววิทยา อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.75-5.00 มีความถูกต้องในเนื้อหาของตัวบ่งชี้ที่นำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.63-5.00
2. ผลการเขียนแผ่นอธิบายตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่มีคำอธิบายรายละเอียดของตัวบ่งชี้คุณภาพที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการทำความเข้าใจร่วมกันของครูผู้สอนชีววิทยา จำนวน 53 แผ่น
3. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) โดยรวมอยู่ในระดับมาก