ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
(3PCA) เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นิมิต เจียมตน
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (3PCA) เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (3PCA) เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัย ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งขั้นตอนการดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis Research : R1) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D1) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน (Implementation Research : R2) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน (Evaluation Development : D2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าเฉลี่ย
ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติที (t - test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (3PCA) เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการเรียนการสอน
และการวัดและการประเมินผล ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างบรรยากาศ/เตรียมสมองเพื่อรับความรู้ใหม่ (Prepare to Knowledge) ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วม (Participatory learning) ขั้นที่ 3 ขั้นการฝึกปฏิบัติ (Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นลงความเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Comment and exchange learning) และขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply knowledge) และรูปแบบการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.29/82.67 ถือว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
2. ผลการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า
2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (3PCA) เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (3PCA) เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̄ = 4.59 , S.D. = 0.52)