ชื่อรายงาน รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ตามรูปแบบ TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ)
ผู้รายงาน นายพันชีพ ก๋าวิบูล
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ (ประชาอุทิศ) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นนักเรียนชาย จำนวน 5 คน และนักเรียนหญิง จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ข้อ และ
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT จำนวน 25 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (P) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และคะแนนทีเฉลี่ย (Average T score)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 83.11/83.09 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) ที่ได้รับการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีผลต่างเท่ากับ 17.88 คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 43.55
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
( x̄ = 4.56, = 0.10)
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามรูปแบบ TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) ฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความอนุเคราะห์และสนับสนุนจากหลาย ๆ ท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย
1) นายกิตติ ปานมี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
2) นายอานนท์ หล้าหนัก ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านนาเลี่ยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
3) นายวิวัฒฑ์ สุคัมภีร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35
4) นายมนัส อินทะจันทร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโฮ่ง อ.ลี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ที่กรุณาให้คำปรึกษาตรวจแก้ไขข้อบกพร่องตั้งแต่ต้นจนแล้วเสร็จ
5) นางสาวถนอมศรี หล้าเต็น ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสามัคคีศรีวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
ขอขอบพระคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ที่ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจในการส่งเสริม จัดอบรมให้ครูอาจารย์จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และสามารถนำส่งเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
ขอขอบพระคุณบิดา มารดาที่ได้เลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ให้โอกาสและเป็นกำลังใจ อยู่เบื้องหลังตลอดมา และสุดท้ายขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือ และให้กำลังใจผู้วิจัยมาโดยตลอด
พันชีพ ก๋าวิบูล