ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางบุษยมาศ อันแสน
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อปรับปรุงคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา 3.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในช่วงเวลาระหว่างเรียน 3.3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4)เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เนื่องจากคละความสามารถทำให้แต่ละห้องเรียนมีธรรมชาติทางด้านความสามารถคล้ายคลึงกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และ แบบวัดความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการศึกษา โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลงแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังเรียน(The One-Group Pretest-Posttest Design) และแบบศึกษากลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา(One-group pretest-post time series design) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในช่วงเวลาระหว่างเรียนมีพัฒนาการขึ้น
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด