บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อผู้ประเมิน : นายอภินันท์ กัณฑภา
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์)
ปีที่ประเมิน : ๒๕๖๑
การประเมินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่องโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้ใช้แบบจำลองการประเมินแบบซีโป CPO (CPO S Evaluation Model) มีจุดประสงค์ ๑)เพื่อประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมโครงการ (Context) ได้แก่ (๑.๑) ความต้องการจำเป็นของโครงการ (Need Assessment) (๑.๒) ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility) (๑.๓) วัตถุประสงค์ของโครงการ (Objectives) (๑.๔) ความพร้อมและทรัพยากรใน การดำเนินการ (Readiness and rosources) ๒) เพื่อประเมินกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างการดำเนินการของโครงการ (Process) ได้แก่ (๒.๑) กิจกรรมโครงการ (Activity) (๒.๒) ช่วงเวลา (Timing) ๓) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome) ได้แก่ ผลการดำเนินการหลังดำเนินโครงการที่เป็นผลรวม (Overall) ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ ๕) เพื่อประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนหลังหลังการดำเนินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา ๒๕๖๑ รวม ๑๘๘ คน จำแนกเป็นผู้บริหาร ๒ คน ครู ๔๐ คน รวมทั้งสิ้น ๔๒ คน คณะกรมการสถานศึกษา ๑๓ คน และผู้ปกครองนักเรียนที่อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง จำนวน ๑๓๓ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นจากการกำหนดกรอบแนวคิดในการประเมินจากเนื้อหา ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง มีจำนวน ๔ ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ ๑ เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษา สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) จำนวน ๔๕ ฉบับที่ ๒ เป็นแบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน สอบถามเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างการดำเนินการของโครงการ (Process) จำนวน ๓๐ ข้อ ฉบับที่ ๓ เป็นแบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน สอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ (Outcome) ที่เกี่ยวกับผลรวม (Overall) จำนวน ๑๒ ข้อ ฉบับที่ ๔ เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองนักเรียน สอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน ๑๐ ข้อ
ผลการประเมินพบว่า
๑. ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมโครงการ (Context) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๒. ด้านกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างการดำเนินการของโครงการ (Process) โดยรวมผล การประเมินอยู่ในระดับมาก
๓.ด้านการดำเนินกิจกรรมโครงการ (Activity) โดย) เฉพาะผลรวม (Overall) โดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๔. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
๕. หลังการดำเนินโครงการแก้ปัญหานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดไทรย้อย (ญาณธรรมสัมฤทธิ์) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี นักเรียนกลุ่มเป้าหมายอ่านหนังสือออกในทุกระดับชั้นคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และอ่านหนังสือคล่องใน ทุกระดับชั้นคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐