ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ผู้วิจัย นางสาอีดะ นิสาแย ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้การฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างรูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (4.1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังก่อนและหลังการใช้รูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (4.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดก่อนและหลังการใช้รูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีและ (4.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embeded Design) ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) เสริมด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบกลุ่มเดียวก่อน-หลัง (The One Group Pretest Posttest) การใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X-bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เครื่องมือการประเมิน คือ 1) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 2) เครื่องมือประเมินนักเรียน ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะการฟัง แบบทดสอบการพูดภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูล
พื้นฐานบุคคล จากข้อมูลดังกล่าวที่นำมาใช้กำหนดนิยาม ความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนารูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ
1. แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน (Principle)
2. วัตถุประสงค์ (Objective)
3. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (Syntax) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบให้ครอบคลุม 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกระตุ้นความสนใจ (Shove Forward)
ขั้นที่ 2 การแนะนำเนื้อหา (Advise)
ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติ (Drill)
ขั้นที่ 4 การนำเสนอผลการปฏิบัติ (Avancer)
ขั้นที่ 5 การสรุปและประเมิน (Assessment)
4. หลักการตอบสนอง (Principle of Reaction)
5. ระบบสนับสนุน (Support System)
6. การวัดและประเมินผล (Evaluation)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยผู้เชี่ยวชาญ มีผลการประเมินโดยรวมเฉลี่ย 4.13 ( X-bar = 4.13, S.D. = 0.57) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นค่าแสดงหลักฐานความเหมาะสมและความสอดคล้องที่มีค่าสูง สามารถนำไปใช้ในการทดลองได้ต่อไป
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ทำให้นักเรียนมีทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ผลดังนี้
4.1 ทักษะการฟังหลังการใช้รูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4นักเรียนมีทักษะการฟังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 ทักษะการพูดหลังใช้รูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4นักเรียนมีทักษะการพูดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก