ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย สุวิมล หลีกภัย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่รายงาน 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียน ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 5) ประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดของครูอนุบาล ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 วงรอบ ได้แก่ วงรอบที่ 1 สร้างและหาคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ดำเนินการภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 วงรอบที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ดำเนินการภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 วงรอบที่ 3 การประเมินผลการใช้คู่มือการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป 3 ดำเนินการภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ผลการวิจัยพบว่า
1) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพคู่มือใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 โดยรวม
ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.45)
2) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 80.21/86.11 แบบกลุ่มเล็ก มีค่าเท่ากับ 81.17/87.96 แบบภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 81.08/87.96 และประสิทธิภาพจริง มีค่าเท่ากับ 82.47/89.04 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ทุกประการ
3) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 0.7000 แบบกลุ่มเล็ก มีค่าเท่ากับ 0.7254 แบบทดสอบแบบภาคสนาม ดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.7128 และเมื่อทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.7517 แสดงว่าการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป ทำให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 75.17
4) ผลการเปรียบคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ P-D-R ตามแนวคิดไฮสโคป
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01