ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียน เชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัย นางสถาพร ทาทอง ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตัวอย่าคือครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จานวน 83 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ (3.1) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3.2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ปีการศึกษา 2561 จานวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์น และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย
ผลการศึกษาความต้องการในการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยตามความคิดเห็นของครูพบว่ามีความต้องการพัฒนาการเรียนรู้ใน มาตรฐาน ท 2.1 การเขียน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 และเมื่อเรียงอันดับพบว่า ความต้องการพัฒนาในมาตรฐานที่ 2.1 ตามลาดับความต้องการจากมากไปน้อยคือ การเขียนบันทึกการเดินทาง การเขียนแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ การเขียนเรียงความ การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด การเขียนเรื่องจากภาพ และ มารยาทในการเขียนผู้วิจัยจึงได้นามากาหนดเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของวัยและพัฒนาการ ดังนี้ 1) การเขียนคาขวัญ คาคม คติพจน์2) การเขียนแสดงความคิดเห็น3) การเขียนโฆษณาสินค้า 4) การเขียนเรียงความ 5) การเขียนนิทาน 6) การเขียนเรื่องเล่าจากประสบการณ์ และ7) การแต่งคาประพันธ์
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียน เชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2.1 ผลการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนการเขียน เชิงสร้างสรรค์ สามารถสรุปสาระสาคัญของแนวคิดทฤษฎีเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการร่างรูปแบบการเรียนการสอนได้ ดังนี้ 1) แนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) 2) แนวคิดจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) 3) แนวคิดกลยุทธ์ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ สแคฟโฟลดิง (Scaffolding)และ 4) แนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transformative Learning Theory)
2.2 ผลการนาข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล และแนวคิดทฤษฎีและข้อสรุป ที่ศึกษาไว้ มาดาเนินการยกร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียน เชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน มี 5 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมความพร้อม (2) จัดการความคิด (3) ลาดับงานเขียน (4) สร้างสรรค์งานเขียน และ (5) นาเสนอผลงาน 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน 3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 3.1 ผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.01/80.62
3.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.51