แบบเสนอเพื่อรับรางวัลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ปีการศึกษา 2562
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
ชื่อผู้ส่งประกวด นางสาวจินตนา ศุภศรี ตำแหน่ง ครูโรงเรียนสตรีทุ่งสง
ชื่อผลงาน CARABAOS Model คาราบาวส์ โมเดล ก้าวสู่ฝัน ปั้นนักพูด
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
ประเภท นวัตกรรม ครูผู้สอน
โทรศัพท์ 089 7266671
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ความสำคัญของผลงานนวัตกรรมที่นำเสนอ
1.1 ความสำคัญของสภาพปัญหา
หนึ่งในเป้าหมายจากทั้งหมด 17 ข้อของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals MDGs) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่ง
องค์การสหประชาชาติ ได้จัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals SDGs) มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เพื่อเสริมแนวคิด ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง คือ
Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า The working language of ASEAN shall be English ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ นั่นหมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุม ปรึกษา หารือ และสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน แต่ในเมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
หนึ่งในหลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ( 2560-2564) คือ ยึด คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับนโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) โดยยึดกรอบการปฏิรูปการศึกษา น้อมนำพระราชกระแสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา ที่จะต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้เด็ก เยาวชน และผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องสถาบันหลักของชาติ สร้างพื้นฐานชีวิต (อุปนิสัย) ที่เข้มแข็ง สร้างความรู้ ทักษะเพื่อให้มีอาชีพ มีงานทำ และได้นำเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านการเสริมสร้างศักยภาพและทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และในระดับชั้นมัธยมศึกษา มีนโยบายที่ให้เรียนภาษาอังกฤษ เน้นเพื่อการสื่อสาร ตลอดจนเรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning เน้นพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง สถานการณ์จำลองกิจกรรมการเรียนรู้จากปัญหาและการลงมือปฏิบัติ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และเรียนรู้อย่าง
มีความสุข นอกจากนี้ ข้อสำคัญ 2 ข้อ ในการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถตอบสนองเป้าหมาย เจตนารมณ์ และวัตถุประสงค์
คือ 1) ใช้กระบวนการพัฒนาคุณธรรม บูรณาการในทุกกระบวนการเรียนรู้ และ 2) เน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกกลุ่มบุคคล ทุกระดับ ทุกประเภท สู่การลดความเหลื่อมล้ำในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกหน่วยงาน
พันธกิจ (Mission) ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ข้อที่ 2 คือการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ข้อที่ 2 คือ ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานสู่ระดับสากล มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นเลิศ
ทางวิชาการ
โรงเรียนสตรีทุ่งสง มีพันธกิจ ข้อที่ 1 คือ พัฒนาและส่งเสริมด้านวิชาการสู่ความเป็นเลิศ
2. ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ในการสื่อสาร แต่จากรายงานผลการ
ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559
พบว่า คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ ทั้งระดับโรงเรียน ระดับภาค และระดับประเทศ พบว่ามีคะแนน
ค่อนข้างต่ำ ไม่ถึงร้อยละ 35 และผลคะแนนเฉลี่ยสาระการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร นักเรียนได้คะแนนไม่ถึง
ร้อยละ 40 ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2559-25560 วิชาภาษาอังกฤษ และสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร
คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ
โรงเรียน จังหวัด สังกัด ภาค ประเทศ
วิชาภาษาอังกฤษ ปี 2559 32.42 26.59 27.35 26.14 27.76
วิชาภาษาอังกฤษ ปี 2560 32.95 27.02 27.91 26.49 28.31
สาระ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ปี 2559 36.28 27.43 28.44 26.99 28.90
สาระ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ปี 2560 34.55 28.11 29.10 27.63 29.47
นอกจากนี้ จากตารางที่ 1 ยังพบว่า แม้ว่าผลคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ ในปี 2560 จะเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 32.95 แต่ในสาระการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกลับมีผลคะแนนเฉลี่ยลดต่ำลง คิดเป็นร้อยละ
1.73 อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน 3 ขึ้นไป ไม่ถึงร้อยละ 74 และผลการแข่งขันทักษะวิชาการทางด้านภาษาอังกฤษยังไม่เป็นไปตาม
เป้าหมายของกลุ่มสาระต่างประเทศที่วางไว้ ผู้เขียนจึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาระดับผลคะแนนใน
สาระการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น
1.2 แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา
เพื่อส่งเสริมทักษะวิชาภาษาอังกฤษ สถาบันภาษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการได้จัดการแข่งขันการเล่านิทานภาษาอังกฤษ (Story Telling) เพื่อสร้างเวทีและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมการแข่งขันทักษะการเล่านิทานภาษาอังกฤษ ในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน
และจากประสบการณ์ในการส่งนักเรียนแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบัน ผู้เขียนได้ศึกษาเทคนิค กลวิธีการเล่านิทานภาษาอังกฤษไว้เป็นอย่างดี และการเล่านิทานนี้ จัดอยู่ในกระบวนการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ซึ่งนอกจากจะสามารถฝึกการอ่านออกเสียงด้วยสำเนียงภาษาที่ถูกต้อง นักเรียนยังได้ฝึกพูด ใช้น้ำเสียง สีหน้าท่าทางประกอบการใช้ภาษา ทำให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น นอกจากนี้ นักเรียนยังได้เรียนรู้คุณธรรมจากเรื่องราวในนิทานภาษาอังกฤษ อันจะทำให้นักเรียนเป็นทั้งคนดี มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้คล่องแคล่ว และอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งตรงตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับประเทศ
ผู้เขียนได้สอน การเล่านิทานภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ
ทำให้มีโอกาสได้คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถในการเล่านิทานภาษาอังกฤษ เป็นตัวแทนส่งเข้าแข่งขันทักษะวิชาการ เล่านิทานภาษาอังกฤษ ในระดับต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของการคิดค้นนวัตกรรมการเล่านิทานภาษาอังกฤษ CARABAOS Model ดังนี้
การเล่านิทานภาษาอังกฤษ โดยใช้นวัตกรรม คาราบาวส์ CARABAOS
C Communicative Language Teaching หมายถึง การสอนภาษาตามแนวสื่อสาร
A Active Learning หมายถึง การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
R Repetition หมายถึง การฝึกย้ำ ซ้ำ ทวน เพื่อความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา
A Achievability หมายถึง การเข้าถึงความความสำเร็จ ทำให้เกิดแรงจูงใจไปสู่เป้าหมาย
B Bliss หมายถึง ความสุขในการเรียนรู้
A Assessment หมายถึง การมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง
O Open air show หมายถึง การจัดเวที ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ
S Self confidence หมายถึง ความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า CARABAOS MODEL เป็นนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารผ่านการเรียนรู้ตามแนวการสอน CLT และ Active Learning ซึ่งจะช่วยส่งผลในการพัฒนาทักษะการพูด และความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ รวมถึงการแข่งขันทักษะในระดับต่างๆ
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
2.1 เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 242 คน ( จากนักเรียนจำนวน 327 คน ) คิดเป็นร้อยละ 74
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
2.1 เพื่อยกระดับผลการทดสอบ O-NET โดยเฉพาะสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร
2.2 เพื่อพัฒนาทักษะการพูด และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สู่การแข่งขันในระดับต่างๆ
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนของการดำเนินงาน
ผู้เขียนได้ดำเนินการพัฒนาผลงาน กระทั่งประสบผลสำเร็จ โดยการใช้กระบวนการ PDCA ดังนี้
Plan : วางแผนการดำเนินงาน
-วิเคราะห์สภาพปัญหาที่ทำให้นักเรียนขาดความมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร,ซึ่งมีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติ O-NET
-วิเคราะห์เป้าหมาย จุดเน้นทางด้านการศึกษาภาษาอังกฤษของ ASEAN, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12, ของกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12, และของโรงเรียนสตรีทุ่งสง
- ศึกษาหลักสูตรและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามเป้าหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การจัดการเรียนรู้แนว CLT
การจัดการเรียนรู้แนว Active Learning
- วางแผน คิด ออกแบบ CARABAOS Model ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
Do : ปฏิบัติตาม CARABAOS Model ที่วางไว้
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร Communicative Learning Teaching และ Active Learning เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการใช้ภาษาด้วยตนเอง
2. ใช้กระบวนการ ฝึกซ้ำๆ ย้ำ ทวนจนสามารถใช้ภาษาได้คล่องแคล่ว ( R Repetition )
หากพบว่าบทนิทานยากเกินไป สามารถปรับเปลี่ยนภาษาได้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้เข้าถึงความสำเร็จและพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ( A Achievement ) ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในการเรียนรู้ร่วมกัน ( B Bliss )
3. จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ ( O open air show ) เพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น ( S Self -confidence )
4. มีการประเมินผลการพูดอย่างต่อเนื่อง ( A - Assessment )
Check : ตรวจสอบและประเมินผล
- ประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
- ประเมินผลการผลการทดสอบ O-NET สาระภาษาเพื่อการสื่อสาร
- รางวัลที่ได้จากการแข่งทักษะภาษาอังกฤษในระดับต่างๆ
Action : พัฒนาปรับปรุง
-สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ผลการทดสอบ O-NET และ การแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ เสนอต่อผู้บริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนา ต่อยอด และปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป
แผนภูมิ Best Practice : การใช้ CARABAOS Model ก้าวสู่ฝัน ปั้นนักพูด
1. จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนว C / A 3. จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออก
C Communicative learning teaching O Open air show
A - Active learning
2. ฝึกทำซ้ำๆ / ปรับบทนิทานให้ผู้เรียนเข้าถึงความสำเร็จ
R - Repetition 4. มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
A Achievement เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้ภาษา
B Bliss
4. ผลการดำเนินงาน /ผลสัมฤทธิ์ / ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
4.1.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 260 คน ( จากนักเรียนจำนวน 327 คน ) คิดเป็นร้อยละ 79.51 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้
(ร้อยละ 74 ) คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 7.5 เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2560 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชาภาษาอังกฤษของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป
ปีการศึกษา 2560
( จากจำนวนนักเรียน 318 คน ) ปีการศึกษา 2561
( จากจำนวนนักเรียน 327คน ) คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น
229 260
ร้อยละ 72.01 ร้อยละ 79.51 ร้อยละ 7.5
4.1.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
(1) เพื่อยกระดับผลการทดสอบ O-NET และสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร
ผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27 เมื่อเปรียบเทียบกับ ผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2560 , ด้านสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.41 ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 2561 วิชาภาษาอังกฤษ
และสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร
คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ
โรงเรียน จังหวัด สังกัด ภาค ประเทศ
วิชาภาษาอังกฤษ ปี 2560 32.95 27.02 27.91 26.49 28.31
สาระ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ปี 2560 34.55 28.11 29.10 27.63 29.47
วิชาภาษาอังกฤษ ปี 2561 37.22 30.10 31.15 29.26 31.41
สาระ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ปี 2561 36.96 30.86 31.64 29.94 31.80
(2) เพื่อพัฒนาทักษะการพูด และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สู่การแข่งขันในระดับต่างๆ มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเล่านิทานในระดับเขตการศึกษา ระดับภาค และระดับประเทศ ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ชื่อ สกุล รางวัล ระดับ ปี
นางสาวโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ ชนะเลิศ เหรียญทอง ระดับภาคใต้,
ระดับชาติ 2561
นางสาวโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2561
นางสาวปวีณา เจริญมาศ รางวัลระดับเหรียญเงิน ภาคใต้ 2560
นางสาวปวีณา เจริญมาศ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2560
นางสาวโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ ชนะเลิศ เหรียญทอง ศูนย์อาเซียนฯ 2559
นางสาวปวีณา เจริญมาศ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2559
ไม่มีการแข่งขันระดับภาค
นางสาวปวีณา เจริญมาศ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2558
นางสาวนงนภัส รัตนพันธุ์ รางวัลระดับ เหรียญทอง ภาคใต้ 2557
นางสาวนงนภัส รัตนพันธุ์ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2557
เด็กหญิงโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ รางวัลระดับ เหรียญทอง ระดับชาติ 2557
เด็กหญิงโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2557
เด็กชายวันเทพ นาคทิพย์พิมาน รางวัลระดับ เหรียญทอง ภาคใต้ 2556
เด็กชายวันเทพ นาคทิพย์พิมาน ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2556
นางสาวณิชาภัทร วงศ์แก้ว รางวัลระดับ เหรียญทอง ภาคใต้ 2556
นางสาวณิชาภัทร วงศ์แก้ว ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2556
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
4.2.1 ครูผู้สอนได้รับรางวัล ครูผู้สอนเหรียญทองชนะเลิศ การแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ (Story Telling) ระดับชั้น ม.4-6 ระดับภาคใต้และระดับประเทศ
4.2.2 ครูผู้สอนได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ (Story Telling) ของงานมหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา สพม.12 เป็นประจำทุกปี
4.2.3 กลุ่มสาระต่างประเทศ โรงเรียนสตรีทุ่งสง ได้รับโล่เกียรติบัตร คะแนน O-NET สูงกว่าระดับชาติ ปีการศึกษา 2560
4.2.4 โรงเรียนสตรีทุ่งสงมีผลการแข่งขันทักษะวิชาการ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยี ครั้งที่ 68 ณ จังหวัดตรัง ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 8-10 มกราคม พ.ศ. 2562 รางวัลเหรียญทอง เป็นอันดับ 2 ของ สพม.12 จังหวัดนครศรีธรรมราช ( 30 เหรียญทอง, 11 เหรียญเงิน, 2 เหรียญทองแดง, 3 เข้าร่วมการแข่งขัน )
4.2.5 ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีทุ่งสง นายสง่า นาวารัตน์ ได้รับรางวัล เหรียญทอง ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านวิชาการ การประกวดรางวัลหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นประสบความสำเร็จเชิงประจักษ์ ระดับภาคใต้ และระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2562
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
4.3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น
4.3.2 โรงเรียนมีผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ สูงกว่าระดับชาติ
4.3.3 โรงเรียนมีชื่อเสียง จากการที่ส่งนักเรียนได้รับเหรียญทองการแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษระดับชาติ ปี 2561
4.4.4 นักเรียนมีแรงจูงใจ และทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น
4.4.5 นักเรียนมีความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
5.1 ผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนและให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรม ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการในระดับต่างๆ
5.2 หัวหน้างานบริหารวิชาการ มีส่วนให้คำแนะนำ ปรึกษาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนานวัตกรรมต่างๆทำให้ทุกกิจกรรมดำเนินไปได้ตามวัตถุประสงค์
5.3 ผู้ปกครองนักเรียนให้การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความร่วมมือ ในการจัดการเรียนรู้ ตลอด
จนการอนุญาตให้นักเรียนได้มาฝึกซ้อมทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษในวันหยุดราชการ
6. บทเรียนที่ได้รับ
6.1 บทเรียนที่ได้รับ
6.1.1 การดำเนินกิจกรรมตามแบบ CARABAOS Model ก้าวสู่ฝัน ปั้นนักพูด ประสบความสำเร็จได้ เพราะความร่วมมือ สนับสนุน ของคณะทำงานทุกฝ่าย
6.1.2 การสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร หรือ CLT เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษจากการฝึกปฏิบัติจริง มีการประเมินผลตามสภาพจริง ทำให้การสอนประสบผลสำเร็จ นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเล่านิทาน แสดงน้ำเสียง สีหน้า ท่าทางประกอบได้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
6.1.3 การสร้างเวที ให้นักเรียนได้แสดงออกทางด้านการใช้ภาษา ทำให้ผู้เรียนมั่นใจในการใช้ภาษามากยิ่งขึ้น ทั้งยังส่งผลให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์ผลงาน และมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
6.2 ปรับปรุงคุณภาพพัฒนาต่อไปทั้งในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติ ( O-NET )
6.3 ข้อพึงระวัง : หากนักเรียนใช้ภาษาแบบติดๆขัดๆ หรืออาจมีผิดบ้าง ครูควรให้กำลังใจ ควรให้แรงเสริมในทางบวกเท่านั้น
7. การเผยแพร่ผลงาน/ การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้
7.1 เผยแพร่ผลงานผ่านเว็ปไซต์ www.stss.co.th โรงเรียนสตรีทุ่งสง
7.2 เผยแพร่ผลงานผ่าน Facebook : Jinawong
7.3 เผยแพร่ผลงาน เมื่อปี 2559- 2560 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่ครู ในสังกัด สพม.12 รับรองโดย อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ นายไพบูลย์ พรหมดำ และนางจิรา ชูช่วย ศึกษานิเทศก์ทางด้านภาษาอังกฤษ ของ สพม.12
7.4 เผยแพร่ผลงานผ่าน website : www.kroobannok.com
7.5 รางวัลที่ได้รับ : ผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน ( O-NET ) ชั้น ม.6
ปีการศึกษา 2560 ค่าเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (วิชาภาษาอังกฤษ) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ อยู่อันดับที่ 5 ของ สพม.12, ผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน
( O-NET )ชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2557-2559 ค่าเฉลี่ยรวม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้พัฒนาการต่อเนื่อง 3 ปี