ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้
แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปาตาตีมอ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ผู้ศึกษา นางปราณี ยูโซ๊ะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปาตาตีมอ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาการแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปาตาตีมอ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปาตาตีมอ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ที่เรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 แผน 2) แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง คำ ควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด รวมทั้งสิ้น 41 แบบฝึก 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 ฉบับ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test (dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 83.24 /80.82
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง คำ ควบกล้ำ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด