ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้
ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นางศุลีพร ศรีวุฒิพงศ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนประทาย
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทย ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 5 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 ก่อนและหลังด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจ ต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สอนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3, 4 และ 5 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 33 คน ซึ่งได้โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การจัดห้องเรียนเป็นแบบคละกัน เก่ง ปานกลาง อ่อน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 เป็นชนิด 4 ตัวเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนไม่ตระหนักความสำคัญของการอ่าน มีประสบการณ์น้อย ขาดทักษะในการฝึกฝนในการอ่าน รวมทั้งขาดความอดทนในการอ่าน ส่งผลให้ไม่สามารถอ่าน มีวิจารณญาณได้อย่างถูกต้อง ด้านครูพบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขาดทักษะในการสร้างสื่อและนวัตกรรม และขาดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมการสอน แนวทางการแก้ปัญหา ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนมีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ครูจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่เหมาะสมกับนักเรียน เช่น
การอ่านจากสารคดี จากบทความ นิทานเรื่องสั้น บทเพลง และวรรณคดีในบทเรียน
2. รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมด 7 เรื่องจัดการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 7 เรื่อง มีประสิทธิภาพแผนจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 85.11/82.05 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมาก ( X ̅ = 4.43, S.D. = 0.68)