บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจรของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบางกะปิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับน้อย คือมีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยอยู่ระหว่างช่วงคะแนน 90-107 คะแนน แล้วเลือกแบบเจาะจงเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 กิจกรรม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 10 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาเรียนรู้ 10 ชั่วโมง ทั้งนี้ รวมแผนปฐมนิเทศและแผนปัจฉิมนิเทศ จำนวน 2 แผน รวมระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ทั้งหมด 12 ชั่วโมง 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ มี 30 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.70/88.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐานชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา โดยภาพรวมอยู่ระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.84 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.37