ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี)
ผู้วิจัย อามาน๊ะ นางา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) โดยศึกษาในประเด็นดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) 3.2) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี)
การดำเนินงานพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L 3) ขั้นตอนที่ 3 การนำไปใช้ (Research : R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย 4) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผลและปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1/4 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest -Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำนวน 24 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.86 3) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย 4) แบบประเมินความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 5) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย เป้าหมาย ของการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พบว่า สภาพที่คาดหวังมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างของผู้เรียน โดยมีการผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุล และมีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การฝึกปฏิบัติ ลงมือทำ และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
2.1) ขั้นสร้างความสนใจ (Learning to Make it Interest ) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนเตรียมความพร้อมให้เด็กเพื่อสร้างแรงจูงใจ หรือความสนใจในการเรียน
2.2) ขั้นค้นหาโดยประสาทสัมผัส (Learning to Sense) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนจัดประสบการณ์โดยให้เด็กได้รับความรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากการร่วมกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ
2.3) ขั้นสร้างความรู้ (Learning to Construct) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนให้เด็กร่วมกันสรุป องค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ทักษะกระบวนพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์
2.4) ขั้นสื่อสาร (Learning to Communicate) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนประเมินทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ของเด็กจากการร่วมกิจกรรมและจากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.18/81.25
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) สรุปเป็นประเด็นดังนี้
3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2) การประเมินการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) อยู่ในระดับดี ( = 2.77, S.D. = 0.42)
3.3) ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) อยู่ในระดับมาก ( = 2.72, S.D. = 0.46)
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ 4L เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่1 (4-5 ปี) อยู่ในระดับดี ( = 4.42, S.D. = 0.53)