ผู้วิจัย นางอาไพ ศรีฟัก ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการพิเศษ สถานที่ศึกษา โรงเรียนวังน้าเขียวพิทยาคม อาเภอวังน้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3) ศึกษาความพึงพอใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จานวน 26 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวังน้าเขียวพิทยาคม อาเภอวังน้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 8 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ
แบบสอบถามความพึงพอใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาวิจัยปรากฏดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.45/81.93 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งได้
2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด