การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
4) เพื่อประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 37 คน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 3 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 33 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม ปีการศึกษา 2560 ที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 33 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 70 คน ประกอบด้วย 3.1) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 33 คน 3.2) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกพฤติกรรม แบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ พบว่า กฎหมาย นโยบาย และแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา ในระดับต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 8(3) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 แนวคิดปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม แนวคิดปรัชญา Constructivism ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพ ความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ พบว่า ปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนคือ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานยังต่ำ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ นักเรียน ร้อยละ 80 ยังขาดความรู้ความเข้าใจและการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง จากข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการดังกล่าวจึงนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
2. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ 2) การออกแบบและการพัฒนา 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ ผลการออกแบบและพัฒนาได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ (5C Model) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Context Analysis : C1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบัน เหตุผลความจำเป็น ขั้นที่ 2 Child Center Planning : C2 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขั้นที่ 3 Construct Learning : C3 จัดกิจกรรมให้นักเรียนค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง ขั้นที่ 4 Condition Assessment : C4 การประเมินผลตามสภาพจริง และขั้นที่ 5 Come Back Information : C5 การย้อนกลับข้อมูล
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ พบว่า
3.1 การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับสูงมาก
(x ̅ = 4.61 , S.D = 0.49)
3.2 สังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามทฤษฎี Constructionism โดยรวมมีค่า อยู่ในระดับ สูงมาก (x ̅ = 4.67, S.D. = 0.48)
3.3 ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 1 โดยหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ( x ̅ = 34.29, S.D. = 3.22 ) สูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ( x ̅ = 18.00 , S.D. = 3.15)
3.4 จากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนมีพัฒนาการทางด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ มากขึ้น
3.5 การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับสูงมาก (x ̅ = 4.61 , S.D = 0.49) ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 2
4. การประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ พบว่า
4.1 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ (5C Model) โดยรวม อยู่ในระดับสูงมาก (x ̅ = 4.76,S.D. = 0.42 ) ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 3
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ปีการศึกษาที่วิจัยกับผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 4 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ย ( x ̅ = 2.57, S.D. = 1.25 ) สูงกว่าปีการศึกษา 2559 ( x ̅ = 2.41, S.D. = 1.34 ) ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 4
4.3 ผลจากการสนทนากลุ่มร่วมกัน โดยผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการนิเทศภายใน และนักเรียน สรุปว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ (5C Model) ทุกองค์ประกอบมี ความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ โดยนักเรียนต้องมีความมุ่งมั่นจริงใจในการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยความเต็มใจร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบ ในการทำงานและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ครูตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานักเรียน ให้ การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเรียน เพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ