บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถทางการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาท ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์คือ
1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาทโดยมีจำนวนนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มขึ้นไป
2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาทโดยมีจำนวนนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มขึ้นไป
3) เพื่อศึกษาแนวคิดในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาท และ
4) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาท
รูปแบบการวิจัยเป็นการจัดรูปแบบกลุ่มที่มีการทดสอบหลังเรียน (One Shot Case Study Design) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/1โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2561 จำนวน 20 คน
เครื่องมือในการวิจัย คือ
1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาท จำนวน 7 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผนประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 เป็นแบบทดสอบอัตนัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 4 ข้อ โดยแต่ละข้อมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (Rubric Scoring)
3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 10 ข้อ
4) แบบสำรวจแนวคิดในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4 ขั้นตอน คือ การทำความเข้าใจปัญหา การวางแผนแก้ปัญหา การดำเนินการตามแผน และการตรวจสอบผล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 จำนวน 20 ข้อ และ
5) แบบสอบถามความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบสอบถามความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาของ Tolga (2012) เป็นแบบสอบถามความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ
สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาท พบว่าจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มมีจำนวน 16 คน ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีจำนวนนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มขึ้นไป
ตอนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาท พบว่าจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มมีจำนวน 15 คน ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีจำนวนนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มขึ้นไป
ตอนที่ 3 แนวคิดในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาทพบว่า นักเรียนมีแนวคิดในการแก้ ปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (x̄= 4.50, = 0.49)
ตอนที่ 4 ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาทมีความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 3.97, = 0.74) ระดับความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูง หมายความว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการแก้ ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนบทบาทมีความเชื่อมั่นในการแก้ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระดับสูง